วิทยากร : ผศ.ดร. เกรียงไกร ปอแก้ว
ระยะเวลา : 2 วัน เวลา 08.30 – 16.30 น.
สถานที่ฝึกอบรม : อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
วัตถุประสงค์ :
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลลงแฟ้มข้อมูลในดิสก์ (Storage Management) โดยผ่าน Tablespace และการหน่วยความจำเป็นที่พักข้อมูล (Buffer Management)
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเรียงข้อมูลลงแฟ้มข้อมูล (File Organization) และการใช้ดัชนีเป็นเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูล
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประมวลผลคิวรี (Query Processing) และการหาแผนการประมวลผลคิวรีที่เหมาะสม (Query Optimization)
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำดัชนี ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในประมวลผลคิวรี
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล การบริหารจัดการดัชนี และการประมวลผลคิวรี ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ การออกแบบฐานข้อมูล และการดูแลระบบฐานข้อมูล เพื่อให้การทำงานของระบบสารสนเทศและระบบฐานข้อมูลมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติผู้เข้าฝึกอบรม :
1. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management System – RDBMS)
2. มีประสบการณ์ในการใช้งานระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์และคำสั่งภาษา SQL
3. มีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรมภาษาใดภาษาหนึ่งที่นอกเหนือจากภาษา SQL
วิธีการอบรม : บรรยาย สาธิต ฝึกปฏิบัติ ตอบข้อซักถาม
การประเมินผล : แบบทดสอบก่อนและหลังฝึกอบรม/แบบประเมินผลการฝึกอบรม
จำนวนผู้เข้าฝึกอบรม : ไม่เกิน 15 คน/กลุ่ม
หลักสูตรต่อเนื่อง/เกี่ยวข้อง :
– ไม่มี
รายละเอียดหลักสูตร :
1. ศึกษาการจัดเก็บข้อมูลในตารางลงสู่แฟ้มข้อมูลในดิสก์โดยผ่าน Tablespace และการใช้หน่วยความจำเป็นที่พักข้อมูล
2. ศึกษาการจัดเรียงข้อมูลในตารางลงในแฟ้มข้อมูล และการบริหารจัดการดัชนี (Index Management)
3. ศึกษาการประมวลผลคิวรี (Query Processing) และวิธีการหาแผนการประมวลผลคิวรีที่เหมาะสม (Query Optimization) ของระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล
4. ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำดัชนี ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในประมวลผลคิวรี เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถออกแบบโปรแกรมหรือระบบฐานข้อมูลให้สอดคล้องกับงานและทำให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ทำงานของระบบการประมวลผลควิรี
5. เนื้อหาส่วนใหญ่ที่อบรม เป็นหลักการทำงานของระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล (DBMS) ที่ไม่เฉพาะเจาะจงกับผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง (DBMS Software) แต่ในการอบรมจะกล่าวถึงความแตกต่างที่เด่นชัดระหว่างบางผลิตภัณฑ์
เนื้อหาการฝึกอบรม
วันที่ 1
– ศึกษาสถาปัตยกรรมการประมวลผลข้อมูลของระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น
– ศึกษาการจัดเก็บข้อมูลในตารางลงสู่แฟ้มข้อมูลในดิสก์โดยผ่าน Tablespace และวิธีการแยกข้อมูลจัดเก็บลงในแฟ้มข้อมูล (Data Partitioning) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล
– ศึกษาวิธีการใช้หน่วยความจำเป็นที่พักข้อมูลระหว่างทรานแซกชันกับดิสก์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้หน่วยความจำ
– ศึกษาวิธีการจัดเรียงข้อมูลในตารางลงในแฟ้มข้อมูลของระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น Sequential Files, Heap Files, Hash Files
– ศึกษาวิธีการจัดทำดัชนีในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Clustered Index, Non-Clustered Index, Unique Index, Function-based Index เป็นต้น และการทำงานภายในของระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลสำหรับดัชนีเหล่านี้
– ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดเรียงข้อมูลในแฟ้มข้อมูล (Data Files) กับแฟ้มดัชนี (Index Files) และความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล (DBMS Software) ในการจัดเก็บข้อมูลในแฟ้มข้อมูลและแฟ้มดัชนี
วันที่ 2
– ศึกษาวิธีการประมวลผลคิวรี (Query Processing) การวิธีสร้างแผนการประมวลผล
คิวรี และวิธีการหาแผนการประมวลผลคิวรีที่เหมาะสม (Query Optimization) ของระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการประมวลผลคิวรี
– ศึกษาวิธีการหาคำตอบของคิวรีแบบต่าง ๆ ของระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล เช่น การหาคำตอบตามเงื่อนไข WHERE clause ที่มี AND หรือ OR การหาคำตอบกรณีที่มีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตาราง (JOIN) การหาคำตอบกรณีที่มีคำสั่ง DISTINCT, GROUP BY, ORDER BY, UNION เป็นต้น
– ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูล การจัดทำดัชนี และวิธีการเลือกใช้ดัชนีในการประมวลผลคิวรีของระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถออกแบบโปรแกรมหรือระบบฐานข้อมูลให้สอดคล้องกับงานและทำให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ทำงานของระบบการประมวลผลคิวรี