วิทยากร : ผศ.ดร. เกรียงไกร ปอแก้ว และ อ. สนิท ศิริสวัสดิ์วัฒนา
ระยะเวลา : 2 วัน เวลา 08.30 – 16.30 น.
สถานที่ฝึกอบรม : อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
วัตถุประสงค์ :
1. เพื่อให้ผู้อบรมมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบคลังข้อมูล และขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบคลังข้อมูล
2. เพื่อให้ผู้อบรมมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ สำหรับใช้ในการออกแบบโครงสร้างคลังข้อมูล เพื่อให้ได้ระบบคลังข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และมีความยืดหยุ่น สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
3. เพื่อให้ผู้อบรมสามารถนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการออกแบบระบบคลังข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาระบบคลังข้อมูลสำหรับองค์กรเป้าหมายได้
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติผู้เข้าฝึกอบรม :
1. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management System – RDBMS)
2. มีประสบการณ์ในการใช้งานระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์และคำสั่งภาษา SQL
3. มีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรมภาษาใดภาษาหนึ่งที่นอกเหนือจากภาษา SQL
วิธีการอบรม : บรรยาย สาธิต ฝึกปฏิบัติ ตอบข้อซักถาม
การประเมินผล : แบบทดสอบก่อนและหลังฝึกอบรม/แบบประเมินผลการฝึกอบรม
จำนวนผู้เข้าฝึกอบรม : ไม่เกิน 15 คน/กลุ่ม
หลักสูตรต่อเนื่อง/เกี่ยวข้อง :
– ไม่มี
รายละเอียดหลักสูตร :
1. ศึกษาความหมายของระบบคลังข้อมูล ตามนิยามของ Bill Inmon และ Ralph Kimball ซึ่งเป็นผู้นำด้านการออกแบบและพัฒนาระบบคลังข้อมูล
2. ศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคลังข้อมูล
3. ศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบคลังข้อมูล
4. ศึกษาวิธีการออกแบบโครงสร้างคลังข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Star Schema, Snowflake Schema
5. ศึกษาเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้การออกแบบโครงสร้างคลังข้อมูล เพื่อจัดการกับข้อมูลที่มีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้ได้ระบบคลังข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และมีความยืดหยุ่น สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
6. ศึกษาความหมายของระบบวิเคราะห์ข้อมูลออนไลน์ หรือโอแลป (OLAP) และความเกี่ยวข้องระหว่างระบบคลังข้อมูลกับโอแลป
7. เนื้อหาส่วนใหญ่ที่อบรม เป็นหลักการออกแบบคลังข้อมูลที่ไม่เฉพาะเจาะจงกับผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งของผลิตภัณฑ์ด้านคลังข้อมูล
เนื้อหาการฝึกอบรม
วันที่ 1
– ศึกษาความหมายของระบบคลังข้อมูล และความแตกต่างระหว่างระบบคลังข้อมูลและระบบฐานข้อมูล
– ศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคลังข้อมูล เช่น เครื่องมือในการคัดกรองข้อมูล (ETL Tool) เครื่องมือในการชำระล้างข้อมูล (Data Cleansing Tool) ที่พักข้อมูล (Data Staging Area) คลังข้อมูลย่อย (Data Mart) เป็นต้น
– ศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบคลังข้อมูล
– ศึกษาวิธีการออกแบบโครงสร้างคลังข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Star Schema, Snowflake Schema
– ศึกษาเทคนิคการออกแบบโครงสร้างคลังข้อมูลเพื่อประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล เช่น การออกแบบ Slowly Changing Dimension (SCD), Rapidly Changing Dimension, Junk Dimension, Degenerate Dimension เป็นต้น
– ศึกษาวิธีการออกแบบโครงสร้างคลังข้อมูลเพื่อจัดการกับข้อมูลที่มีความสลับซับซ้อน เช่น ข้อมูลชนิดที่มีได้หลายค่า (Multi-Value Data) ข้อมูลที่มีโครงสร้างเป็นลำดับชั้นแบบยืดหยุ่น (Hierarchical Data) เป็นต้น
– ศึกษาความหมายของระบบวิเคราะห์ข้อมูลออนไลน์ หรือโอแลป (OLAP)
– ศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างระบบคลังข้อมูลกับโอแลปแบบต่าง ๆ ได้แก่ MOLAP, ROLAP, และ HOLAP
วันที่ 2
– ศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบคลังข้อมูลเริ่มจากการกำหนดแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่จะเป็นข้อมูลสำหรับสร้างคลังข้อมูล
– ศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเพื่อทำการชำระล้างข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องและมีคุณภาพ
– กรณีศึกษาทำการสร้างแบบจำลองคลังข้อมูลแบบ Star Schema โดยการออกแบบมิติ (Dimension) และตารางความจริง (Fact Table)
– กรณีศึกษาทำการสร้างแผนผังข้อมูล (Mapping ) ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือคัดกรองข้อมูล (ETL Tools) เพื่อใช้ดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลมายังคลังข้อมูล
– กรณีศึกษาทำการแปลงสิ่งที่ออกแบบเพื่อสร้างคลังข้อมูลกายภาพพร้อมกับการดำเนินการดึงข้อมูลมายังคลังข้อมูล
– กรณีศึกษานำข้อมูลในคลังข้อมูลมาแสดงโดยใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลออนไลน์ (OLAP)